การก่อสร้างพระพุทธสิหิงค์ราชภัฏนครศรีธรรมราช

การก่อสร้างพระพุทธสิหิงค์ราชภัฏนครศรีธรรมราช

วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2556  
เผยแพร่
การก่อสร้างพระพุทธสิหิงค์ราชภัฏนครศรีธรรมราช

โครงการก่อสร้างพระพุทธสิหิงค์ราชภัฏนครศรีธรรมราช

หลักการและเหตุผล
   พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่ชาวพุทธทั่วโลกรู้จัก  ในประเทศไทยมีพระพุทธสิหิงค์ขนานแท้และดั้งเดิมสามแบบคือ  แบบล้านนา (เรียกพระสิงห์)  แบบสุโขทัย    (เรียกพระพุทธสิหิงค์) และแบบนครศรีธรรมราช (เรียกพระสิหึง)  ชาวนครได้สร้างพระพุทธรูปนี้เมื่อราวพุทธศตวรรษที่  ๒๑  ตามคตินิยมของช่างท้องถิ่นโบราณ  คือมีรูปทรงประดุจราชสีห์  นั่งขัดสมาธิเพชร  ปางมารวิชัย  พระวรกายล่ำสัน  พระอุระนูนคล้ายขนมต้ม  พระเศียรและพระพักตร์กลมป้อม  พระหนุและนาสิกยื่นเล็กน้อย  เส้นพระศกใหญ่ไม่มีไร  รัศมีเป็นบัวตูม  ชายสังฆาฏิสั้น ปลายเป็นกลีบแฉกซ้อนกันหลายชั้นอยู่เหนือพระถัน  ฐานเตี้ยและเรียบ   ถือเป็นศิลปะ “สกุลช่างนครศรีธรรมราช” เป็นพระพุทธรูปประจำเมืองซึ่งปัจจุบันประดิษฐานที่หอพระพุทธสิหิงค์  อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕  นับเป็นปีสำคัญเพราะเป็นปีที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ครบ  ๒,๖๐๐ ปี  ที่เรียกกันว่า “ปีสัมพุทธยันตี” ประกอบกับเป็นปีที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษา  ๘๐  พรรษา และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  สยามมกุฎราชกุมารทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๐  พรรษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชและจังหวัดนครศรีธรรมราช  จึงทำโครงการก่อสร้างพระพุทธสิหิงค์องค์ใหญ่ไว้เป็นที่สักการะบูชาอีกแห่งหนึ่งชื่อว่า “พระพุทธสิหิงค์ราชภัฏนครศรีธรรมราช”  โดยจำลองจากหอพระพุทธสิหิงค์         มาประดิษฐานไว้  ณ  เชิงเขามหาชัย  กำหนดแล้วเสร็จต้นปี  ๒๕๕๖ 
พระพุทธสิหิงค์ที่จัดสร้างครั้งนี้หน้าตักกว้าง  ๙.๘๔  เมตร  สูง  ๒๖ เมตร (๒,๖๐๐ ซม.) มีความหมายเป็นนัยว่าเริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๙  คราวที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา  และในช่วงเวลาครบ ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้  ที่ฐานทั้งสี่ทิศมีเทวดารักษาอยู่สี่ตน  ประกอบด้วย  ขัตตุคาม  รามเทพ   สุมนเทพ  และลักขณาเทพ  ซุ้มประตูทางเข้าห้องโถงเป็นปูนปั้นเป็นรูปราหูอมจันทร์ ภูมิทัศน์โดยรอบยามราตรีมีประทีปโคมแก้วประดับอย่างสว่างไสว 
วัตถุประสงค์
๑.  เพื่อเป็นอุทยานการเรียนรู้ทางพุทธศาสนาและเป็นปูชนียสถานอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช
๒.  เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในวาระครบ ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้และชนะหมู่มาร  ซึ่งเรียกกันว่า “ปีสัมพุทธชยันตี
๓.  เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
แผนการดำเนินงาน
๑. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชเป็นหน่วยงานหลักในการออกแบบก่อสร้างเป็นหน่วยงานกลางในการรับบริจาคและหางบประมาณสนับสนุนการก่อสร้าง  จากศิษย์เก่า  องค์กรปกครองท้องถิ่น  พุทธศาสนิกชนในภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช 
๒. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชควบคุมการก่อสร้าง  เพื่อให้แล้วเสร็จภายในวันที่  ๑๔  กุมภาพันธ์  และประกอบพิธีเบิกเนตรวันที่  ๕  มีนาคม  ๒๕๕๖

 งบประมาณ

๑.  ค่าก่อสร้าง   
๑)  ค่าสร้างพระพุทธสิหิงค์องค์ใหญ่                          ๘,๑๐๐,๐๐๐   บาท
๒)  ค่าสร้างพระพุทธสิหิงค์และวัตถุมงคลเพื่อให้เช่า           ๓,๓๕๐,๐๐๐   บาท
๓)  ค่าสร้างเทพจตุคาม (สี่องค์)                            ๓,๐๐๐,๐๐๐   บาท
๔)  ค่าภูมิทัศน์รอบองค์พระพุทธสิหิงค์                        ๒,๖๐๐,๐๐๐   บาท
๕)  ค่าเสาไฟฟ้าถนนสิหิงค์วรคามิน                           ๒,๙๕๐,๐๐๐   บาท
                                                       รวม      ๒๐,๐๐๐,๐๐๐  บาท

 ๒.     ที่มาของงบประมาณ
๑)  ทอดผ้าป่า ๕ ครั้ง ๆ ละ ๘๔๐,๐๐๐  บาท               ๔,๒๐๐,๐๐๐   บาท
๒)  ขอบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาในกรุงเทพฯ/ต่างจังหวัด         ๗,๒๕๐,๐๐๐   บาท
๓)  ขอบริจาคจากวัดต่าง ๆ                                      ๓,๐๐๐,๐๐๐   บาท
๔)  ขอบริจาคจากบริษัทห้างร้านที่รับจัดสวนและภูมิทัศน์          ๒,๖๐๐,๐๐๐   บาท
๕)  ขอบริจาคจากบริษัทผู้ผลิตเสาไฟฟ้าถนน                      ๒,๙๕๐,๐๐๐   บาท
                                                      รวม            ๒๐,๐๐๐,๐๐๐   บาท

 ๓.     การร่วมทำบุญ 
รับบริจาคเงินทำบุญโดยผ่านธนาคารทหารไทย  จำกัด  (มหาชน)
สาขามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  ชื่อบัญชี  “พระพุทธสิหิงค์ราชภัฏนครศรีธรรมราช” เลขที่บัญชี  ๕๒๐-๒-๐๕๕๗๕-๑

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. พุทธศาสนิกชน  คณาจารย์  บุคลากร  และนักศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ใช้เป็นแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์พุทธศาสนา  และอุทยานการศึกษาพุทธศาสนา
๒.  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางศาสนาและวัฒนธรรมระหว่างหน่วยงานอื่นในจังหวัดและภาคใต้  โดยเฉพาะคือความร่วมมืออันดีระหว่าง สถานศึกษา  วัด  และชุมชน 

 การจารึกชื่อที่ฐานพระพุทธสิหิงค์

ที่

จำนวนเงินที่บริจาค

ตำแหน่งจารึกชื่อ

ของที่ระลึกที่ได้รับ

๑,๐๐๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป

 แผ่นหินแกรนิตภายในซุ้มเรือนแก้วขนาดใหญ่

พระบูชา ๙  นิ้ว

   ๕๐๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป

 แผ่นหินอ่อน ภายในซุ้มเรือนแก้วขนาดกลาง

พระบูชา ๕  นิ้ว

   ๑๐๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป

 เสาลวดบัว (แปดเหลี่ยม)

พระบูชา ๕  นิ้ว

     ๕๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป

 กลีบดอกบัวประดับผนังห้องโถง

พระพุทธสิหิงค์   ๑.๕  นิ้ว

     ๑๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป

 ก้านดอกบัวประดับห้องโถง

พระพุทธสิหิงค์   ๑.๕  นิ้ว

       ๕,๐๐๐  บาทขึ้นไป

 ผนังห้องโถง

พระกริ่งพุทธสิหิงค์

 









หมายเหตุ
        ๑.  ผู้บริจาคตามอัตราข้างต้น จะได้รับใบเสร็จรับเงินและอนุโมทนาบัตร (สามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้)
        ๒.  เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูลของผู้บริจาค  ในฐานะผู้อุปถัมภ์ค้ำจุนพระศาสนา ร่วมสร้างแหล่งเรียนรู้ทางพุทธธรรมและคติความเชื่อของชาวพุทธให้คงคู่มหาวิทยาลัยอยู่ชั่วกาลนาน  มหาวิทยาลัยจะจารึกชื่อของท่าน
 ผู้บริจาคด้วยตัวอักษรทรงสุภาพ  มีขนาดโตพอจะอ่านได้ง่ายและชัดเจนไว้ที่แผ่นเรซิน, แผ่นหินอ่อน หรือ แผ่นหินแกรนิต  ที่ซุ้มเรือนแก้วภายในโถงของฐานพระพุทธสิหิงค์

คำสำคัญ: การก่อสร้างพระพุทธสิหิงค์ราชภัฏนครศรีธรรมราช
จำนวนผู้อ่าน: 2185