แหล่งที่มาของข้อมูล BIG DATA
-
แหล่งที่มาของข้อมูล BIG DATA
1. ข้อมูลที่เกิดจากคนสู่คน
ที่มีการสื่อสารกับโลกดิจิทัลผ่านสมาร์ทโฟน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
การส่งอีเมลหรือส่งข้อความ
การโพสภาพถ่ายถึงกันหรือแม้แต่การทำข่าวให้เราได้ดูจากทั่วทุก มุมโลก
ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ตัวอักษร รูปภาพ แต่อาจเป็นวิดีโอเคลื่อนไหวเกิดเป็นกิจกรรมการไลฟ์สด
(Live chat) ณ สถานที่จริงเวลาจริงที่เกิดขึ้น
ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นที่เราทำการโพสหรือแชร์ไปนั้นไม่ได้ถูกลบ
แต่มันจะถูกนำไปเก็บไว้ที่ไหนสักแห่งหนึ่งที่เราไม่รู้ขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มที่เราเลือกใช้ในการแชร์
แลกเปลี่ยน หรือส่งออกไป
2. ข้อมูลที่เกิดจากคนสู่อุปกรณ์
ในปัจจุบันจะพบว่านอกจากผู้คนจะเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันเองแล้วเรายังมีการสื่อสารกับอุปกรณ์ดิจิทัลด้วย
ทั้งในรูปแบบ Machine device หรือเซ็นเซอร์ ตัวอย่างง่าย ๆ
เช่น Siri ใน iPhone หรือ Cortana
ใน Microsoft หรือ Google Now ของมือถือ Samsung Android เพื่อใช้ในการสืบค้นข้อมูลจาก
Google ซึ่งเป็นลักษณะของข้อมูลที่เกิดจากคนสู่อุปกรณ์ในกลุ่มที่เป็นเหมือน
Machine ซึ่งจะช่วยให้ Machine เหล่านั้นเกิดการเรียนรู้หรือถ้าเป็นตัวอย่างของ
device ก็เช่น Apple watch หรือ fitbit
ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในกลุ่ม smart watch ที่เราจะส่งข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจ
จำนวนก้าวการเดิน รูปแบบ วิธีการออกกำลังกายของเรา ซึ่งเมื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ
เหล่านั้นได้ทำการเชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตก็จะดึงข้อมูลจากอุปกรณ์นาฬิกา
fitbit หรือ Apple watch ไปเก็บเพื่อที่จะเอาข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์พฤติกรรมและสร้างเป็นโอกาสทางการตลาดต่อไปได้
3. ข้อมูลที่เกิดจากอุปกรณ์สู่อุปกรณ์
(M2M) ข้อมูลในส่วนนี้ส่วนใหญ่จะเกิดจากเทคโนโลยีตัวจับเซ็นเซอร์ที่ทำหน้าที่ในการวัดค่าบางอย่างจากจุดที่ติดตั้งอยู่แล้ว
ส่งตำแหน่งและข้อมูลจำเพาะออกไปหาตัวรับ ตัวอย่างเช่น การติด Easy Pass ไว้
ที่หน้ารถเพื่อให้ส่งสัญญาณเพื่อจ่ายค่าผ่านทางในเวลาที่เราขับผ่านทางด่วนหรือ
แม้กระทั่งการติดเซ็นเซอร์ไว้ในกล้องในลิฟท์หรือที่ประตูรถไฟฟ้าเพื่อใช้ตรวจจับ
การเคลื่อนไหวของคนที่ผ่านเข้าออกประตูเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีใครแล้วประตูจะทำการปิดอย่างปลอดภัย
4. ข้อมูลที่เป็นแบบ internet
of things ความแตกต่างของ IoT เป็นระบบที่นำความสามารถของ
M2M ออกมาขยายความให้ได้รับประโยชน์จากข้อมูลที่ M2M ผลิตนั้นแทนที่จะใช้แค่สื่อสารระหว่างกันเองเท่านั้น
แต่เราจะมีการนำข้อมูลเหล่านั้นมาเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลต่าง
ๆ จากสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ได้ทันที ตัวอย่างเช่น
เซ็นเซอร์ในระบบรถยนต์ถ้าความดันลมยางมีค่าต่ำกว่ามาตรฐานตัวเซ็นเซอร์นั้นก็จะส่งข้อมูลไปที่ตัวประมวลผลกลางของระบบเครื่องยนต์และส่งผลต่อให้รถสตาร์ทไม่ติดซึ่งลักษณะดังกล่าวแบบนี้จะเป็นเหมือนข้อมูลที่อุปกรณ์มีการสื่อสารระหว่างกันเอง
เราเรียกว่าเป็นอุปกรณ์ หรือ M2M แต่ในกรณีของข้อมูลที่เป็นแบบ
IoT นั้นจะมีลักษณะที่ว่าถ้าความดันลมยางเริ่มมีค่าต่ำตัวเซ็นเซอร์ก็จะมีการประมวลข้อมูลและส่งข้อมูลมาเตือนอยู่ในสมาร์ทโฟนเพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าไปตรวจสภาพในตัวรถซึ่งลักษณะแบบนี้จะ
เรียกว่าเป็นข้อมูลแบบ internet of things