รู้จัก “MOOC” มหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียนได้ทั่วโลก

MOOC



รู้จัก-“MOOC”-มหาวิทยาลัยออนไลน์-เรียนได้ทั่วโลก


  • MOOC คือการเรียนคอร์สออนไลน์กับมหาวิทยาลัยทั่วโลก เพียงปลายนิ้วคลิก ซึ่งมีความต่างจาก E-learning
  • มหาวิทยาลัยทั่วโลกเปิดคอร์สออนไลน์ไปแล้วกว่า 700 แห่ง แจ้งเกิดเว็บไซต์ MOOC ชั้นนำกว่า 30 แห่ง
  • ในไทย ตลาด MOOC เริ่มคึกคัก อาทิ Chula MOOC ล่าสุดยอดลงทะเบียนเรียนเฉียด 6 หมื่น ยอดเรียนจบ 26% แซง MOOC ชั้นนำของโลกแล้วทันทีที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ฮาร์วาร์ด และ MIT เปิดหลักสูตรออนไลน์ให้คนเข้าไปเรียนฟรีเป็นแห่งแรกในปี 2012 ซึ่งรู้จักกันแพร่หลายในเวลาต่อมา ในชื่อของ “MOOC” (Massive Open Online Courses) ไม่ทันข้ามปี การเรียนการสอนในรูปแบบ MOOC ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก มีผู้ลงทะเบียนเรียนบน MOOC ไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน ไม่เฉพาะแต่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่มีมหาวิทยาลัยทั่วโลกกว่า 700 แห่ง ที่หันมาเปิดคอร์สเรียนออนไลน์

    ในปี 2016 มีผู้ลงทะเบียนเรียนบน MOOC ไม่ต่ำกว่า 58 ล้านคน มีเว็บไซต์ MOOC ของมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกทยอยเปิดตัวอย่างคึกคัก ล่าสุดจากการรวบรวมของ Dhawal Shah ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ class-central.com มีเว็บไซต์ที่ให้บริการคอร์สออนไลน์ หรือ MOOC มากกว่า 30 เว็บไซต์ สะท้อนถึงการเติบโตของตลาด MOOC ได้เป็นอย่างดี

    MOOC ต่างจากอีเลิร์นนิ่ง (E-learning) อย่างไร ?  

    ชื่อเต็มของ MOOC คือ Massive Open Online Courses หมายถึง การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ ที่รองรับผู้เรียนจำนวนมาก ไม่จำกัดเพศ วัย การศึกษา โดยให้บริการฟรี และเป็นการเรียนรู้แบบ Anywhere Anytime นั่นคือ เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านสมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โดยเรียนผ่านวิดีโอ บรรยายโดยอาจารย์เจ้าของวิชา มีแบบฝึกหัดหลังบทเรียน

    นอกจากนี้ บางแพลตฟอร์มยังมีกระดานสนทนา หรือฟอรั่ม (Forum) ให้ผู้เรียนได้เข้าไปสนทนา แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้สอน หรือผู้เรียนด้วยกันเองอีกด้วย ส่วน อีเลิร์นนิ่ง (e-learning) เป็นการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนเฉพาะกลุ่ม เรียนในสถาบันการศึกษานั้นๆ หรือเปิดให้คนนอกเข้ามาเรียน โดยเก็บค่าเล่าเรียน

    ดังนั้น สิ่งที่ MOOC แตกต่างจาก อีเลิร์นนิ่ง คือ เป็นการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ที่ใครก็สามารถเรียนบน MOOC ได้ แม้ว่าปัจจุบันจะมีบางคอร์สที่เก็บค่าเล่าเรียน แต่เป้าหมายของ MOOC ส่วนใหญ่คือ การให้บริการฟรี


    เว็บไซต์ที่ให้บริการ MOOC รายแรกและรายใหญ่ของโลก อย่าง Coursera ซึ่งก่อตั้งโดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จึงเป็นแหล่งรวมของมหาวิทยาลัยมากกว่า 150 แห่ง ที่เปิดสอนวิชาต่างๆ บน MOOC มีหลักสูตรมากกว่า 2,700 หลักสูตร มีผู้เรียนมากกว่า 35 ล้านคน

    เช่นเดียวกับ edX ก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาด และ MIT ผู้ให้บริการ MOOC รายใหญ่อันดับ 2 ของโลก มีผู้เรียนมากกว่า 10 ล้านคน มีหลักสูตรมากกว่า 1,500 หลักสูตร และมีพาร์ตเนอร์มหาวิทยาลัยมากกว่า 100 แห่ง

    ส่วนอันดับ 3 คือ Udacity เว็บออนไลน์แนว Tech Unicorn ก่อตั้งโดยศาสตราจารย์ Sebastian Thrun จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังโปรเจกต์ Self – driving Car หรือรถขับเองได้ ของ Google เปิดคอร์สออนไลน์ให้เรียนฟรีมากกว่า 200 หลักสูตร และยังเป็นเว็บไซต์ MOOC ที่กูเกิลให้การสนับสนุน และร่วมจัดการเรียนการสอน เช่น เปิดคอร์ส Android โดยผู้ที่เรียนจบหลักสูตรนี้ได้ใบรับรองที่เรียกว่า nanodegree จาก Udacity และ Google

    นอกจากนี้ ยังมีมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในยุโรปและเอเซียที่ให้บริการ MOOC เช่น สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี เม็กซิโก รัสเซีย อินเดีย จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มมีจุดเด่นแตกต่างกันไป รวมถึงประเทศไทยก็เปิดให้บริการหลักสูตรออนไลน์ โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยไทยและหน่วยงานในประเทศ ภายใต้โครงการ มหาวิทยาลัยไซเบอร์ หรือ “Thailand Cyber University Project (TCU)” โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงดิจิทัลฯ


    แหล่งที่มาของข้อมูล : https://plan.vru.ac.th/?p=3508

By : ดวงธิดา รักษาแก้ว

โปรไฟล์ Blog โปรไฟล์ E-portfolio

หมวดหมู่ : การศึกษา / การเรียนการสอน

ผู้เข้าชม 1137 ครั้ง 2024-04-17 07:56:35

Comment แสดงความคิดเห็น