การจัดการกับความเครียด

ทำอย่างไร..เมื่อคุณเกิดความเครียด



nopic

ถ้าในช่วง 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือนที่ผ่านมา  คุณมีอาการเหล่านี้

"คุณเคยนอนไม่หลับเพราะคิดมาก หรือกังวลใจบ้างหรือเปล่า หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ"

ซึ่งอาการเหล่านั้น บ่งบอกได้ถึงว่าคุณกำลังมี “ความเครียด”

ความเครียด เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้น เมื่อเราต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ แล้วประเมินว่า ปัญหาเหล่านั้นเป็นสิ่งที่คุกคามจิตใจ หรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย

มันจึงส่งผลให้สภาวะสมดุลของร่างกายและจิตใจเสียไป เมื่อเกิดความเครียด เราอาจจะมีอาการปวดหัว นอนไม่หลับ หงุดหงิด หรือแม้กระทั่งรู้สึกไม่อยากพบเจอผู้คน

มาทดสอบกันหน่อยว่าคุณมีระดับความเครียดแค่ไหน

ซึ่งเราสามารถประเมินเบื้องต้นได้จากแบบประเมินความเครียด ST-5


ความเครียดแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังต่อไปนี้

1. ความเครียดระดับเล็กน้อย เป็นความเครียดที่ไม่มีผลต่อการดำเนินชีวิต สามารถจัดการได้ด้วยตนเอง

2. ความเครียดระดับปานกลาง มีปัญหาหรือเรื่องไม่สบายใจ แต่ไม่อันตราย สามารถจัดการทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย

3. ความเครียดระดับมาก เกิดจากเหตุการณ์วิกฤติ ที่มากระทบต่อจิตใจ อาจจะทำให้มีอาการปวดหัว อารมณ์ฉุนเฉียว นอนไม่หลับ ส่งผลกระทบถึงการดำเนินชีวิต จึงควรหาวิธีการจัดการความเครียด แต่หากความเครียดยังไม่ลดลง ควรไปพบแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษา

4. ความเครียดระดับมากที่สุด เป็นความเครียดที่ส่งผลกระทบต่อภาวะร่างกาย ทำให้อ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย จนอาจจะทำให้เกิดโรคทางจิตเวช เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จึงควรไปพบแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษาทันที

     ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ความเครียดคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่เราทุกคนต้อเผชิญ ฉะนั้น เราต้องเรียนรู้วิธีการจัดการความเครียด เพื่อจัดการกับความเครียด ได้เหมาะสมกับตนเอง โดยลองใช้วิธีการจัดการความเครียดด้วย 4 วิธีนี้

1. ทำกิจกรรมที่ชื่นชอน เช่น การดูหนัง การฟังเพลง การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การปลูกผัก ปลูกดอกไม้ การทำอาหาร การทำขนม การสร้างงานศิลปะ เป็นต้น

2. หาวิธีคลายเครียดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น การฝึกหายใจเข้าลึกๆ การทำสมาธิ และการใช้ความเงียบ

3. ฝึกคิดแง่บวกด้วยตนเอง เชื่อว่าทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ

4. ลองพูดคุยกับผู้ที่ไว้ใจได้ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาลจิตเวช และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือปรึกษาสายด่วน กรมสุขภาพจิต

“ความเครียดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เป็นประจำทุกวัน และเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของเราทุกคน หากเรานำวิธีข้างต้นไปใช้ในการจัดการกับความเครียดแล้ว ก็จะทำให้มีสุขภาพจิต และสุขภาพกายที่ดี มีสมดุลชีวิตที่ดีได้”

อ้างอิง : ศูนย์สุขภาพจิตที่ 3 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข




วรรณวิภา  วีระพงศ์

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

By : วรรณวิภา วีระพงศ์

โปรไฟล์ Blog โปรไฟล์ E-portfolio

หมวดหมู่ : อื่นๆ

ผู้เข้าชม 758 ครั้ง 2023-04-18 08:17:56

Comment แสดงความคิดเห็น